ลบเหลี่ยมไอน์สไตน์

ลบเหลี่ยมไอน์สไตน์ 



ชื่อผู้แต่ง  จอห์น  ลอยด์. ชื่อ ลบเหลี่ยมไอน์สไตน์ 3.  สำนักพิมพ์ วีเลิร์น.  197 หน้
 หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใดเต้นรวมกันมากครั้งที่สุดตลอดวงจรชีวิต

มนุษย์เรานี่แหละ

... สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่จะมีหัวใจที่เต้นช้าและอายุยืน ส่วนสัตว์ขนาดเล็กมีหัวใจที่เต้นเร็วและอายุสั้น ด้วยเหตุนี้ หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิดจึงมีจำนวนครั้งของการเต้นโดยเฉลี่ยตลอดวงจรชีวิตใกล้เคียงกัน คือประมาณ 500 ล้านครั้ง ปรากฎการณ์นี่มีชื่อว่า สมมุติฐานอัตราการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นจริงกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดยกเว้นมนุษย์  ความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ช่วยให้มนุษย์เรามีอายุยืนขึ้นนั้น ส่งผลให้ตลอดวงจรชีวิต หัวใจของเราจะเต้นรวมกันมากครั้งกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆถึง 5 เท่า

 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่สุดในโลกคือ หนูผีจิ๋ว  จากทางตอนใต้ของยุโรป ด้วยน้ำหนักตัวเพียง 2 กรัมและลำตัวยาว 3.5 เซนติเมตร มันมีค่าอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยที่ 835 ครั้งต่อนาที  แต่กลับมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 ปี แค่พอให้ได้สืบพันธุ์ก่อนจะโดนผู้ล่าเขมือบกิน

... ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ ปลาวาฬสีน้ำเงิน  ซึ่งมีลำตัวยาวได้ถึง 30เมตรและหนักกว่า 150 ตัน หัวใจที่ใหญ่พอๆกับรถยนต์ขนาดเล็กของมันนั้นเต้นเพียง 10 ครั้งต่อนาทีตลอดอายุขัย 80 ปี

ตลอดอายุขัยของสัตว์สองชนิดนี้ จะเห็นได้ว่าจำนวนครั้งที่หัวใจเต้นทั้งหมดนั้นใกล้เคียงกัน  หัวใจของหนูจิ๋วเต้น 439 ล้านครั้ง  ส่วนหัวใจของปลาวาฬสีน้ำเงินเต้น 421 ล้านครั้ง แต่หัวใจของมนุษย์ปกติ กลับเต้นมากถึง  2500  ล้านครั้งเลยทีเดียว



... นีล อาร์มสตรอง  นักบินอวกาสชื่อดังของสหรัฐอเมริกาจริงจังกับเรื่องจำนวนครั้งที่หัวใจเต้นตลอดอายุขัยเอามากๆ เขาถึงกลับปล่อยมุกออกมาว่า จะเลิกออกกำลังกายเพราะไม่อยากให้จำนวนครั้งที่เต้นของหัวใจเต้นพร่องไปอย่างรวดเร็วเกินความจำเป็นแต่ก็ไม่เชิงว่าจะเป็นแบบนั้นเสียทีเดียว เพราะถึงแม้การออกกำลังกายอย่างหนักจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นในระยะแรกๆ แต่ผลลัพธ์จากการมีสุขภาพดีก็จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจโดยรวมลดลงในที่สุด

วิธีลดอัตราการเต้นของหัวใจที่ดีกว่าคือ การเล่นโยคะ ใน ปี 2004 การศึกษาวิจัยที่กินเวลากว่า 30 วัน ในเมืองบังกาลอร์ประเทศอินเดีย แสวงให้เห็นว่า  การควบคุมลมหายใจในระหว่างฝึกโยคะและการทำสมาธิช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจโดยเฉลี่ยลงถึง 10.7 ครั้งต่อนาที ส่วนกลุ่มควบคุมที่พยายามลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วยวิธีอื่นๆ กลับไม่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นชิ้นเป็นอันเลย

... ในปี 1938 ได้มีการทดลองอันน่าสะพรึงเพื่อบันทึกผลกระทบของความกลัวที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจ  เมื่อจอห์น  เดียริง ฆาตกรที่ต้องโทษประหารชีวิตบริจาคชีวิตของเขาให้กับหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์  โดยเขายินยอมให้หมอสตีเฟนบีสลีย์ แพทย์ประจำเรือนจำมัดเขาไว้กับเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะรับโทษประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าที่เมืองซอลต์เลกซิตี้ รัฐยูทาห์ ภายใต้ท่าทีที่ดูสงบนิ่งของเดียริง  หมอบีสลีย์สามารถบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจที่พุ่งจาก 72 ไปเป็น 120 ครั้งต่อนาทีขณะถูกมัด  และทะยานขึ้นไปถึง 180 ครั้งต่อนาทีในช่วงที่กระสุนอัดเข้าร่าง  หัวใจของเขาหยุดเต้นในอีก 15.6 วินาทีให้หลัง

บีสลีย์ให้ความเห็นว่า ถึงแม้ภายนอกเดียริงจะดูสงบนิ่งแต่เครื่องก็ยืนยันในสิ่งที่เขาคาดการณ์ไว้ นั่นคือ เดียริงกลัวความตาย


สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสอดคล้อง 9 ข้อพ่อสอนไว้ นิสัยแห่งความดีด้านต่างๆ ดังนี้
1.      ความเพียร เช่น จอห์น รู้ว่ามันเหนื่อย แต่ก็ตั้งใจทำการทดลองอย่างเต็มที่

                    2รู้จักความพอดี เช่น จอห์น รู้ว่าตนกำลังทำอะไร และทำด้วยความพอดี ไม่มากและไม่น้อ3.        ความรู้ตน เช่น จอห์น รู้ว่างานไหนที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัด ตัวเองก็ไม่ทำ
                  4.       ต้องเป็นทั้งผู้รับ เป็นผู้ให้ เช่น จอห์นทดลองครั้งนี้ ต้องเสียเวลามาก แต่ทำด้วยเต็มพอใจ
                     5.ความอ่อนโยน  แต่ไม่อ่อนแอ เช่น  จอห์น ไม่ย่อท้อต่อการศึกษาเรื่องการเต้นของหัวใจของสัตว์
     6.       พูดความจริง ทำจริง  เช่น จอห์นคิดที่จะทำการทดลอง แร้วก็ได้ทำจริง
7.      หนังสือเป็นออมสินแห่งความรู้ เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ
8.       ความซื่อสัตว์ เช่น จอห์น มีความซื่อสัตว์ที่จะทำการทดลอง
9.       การเอาชนะ เช่น จอห์น มุ่งหมั้นที่จะทำการศึกษาทดลองให้ดีที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น