มารยาทไทย
หัวเรื่อง : มารยาทและการสมาคม
เลข ISBN/ISSN 9789747595192
รายละเอียดเล่ม 170
พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ: น้ำฝน, 2546
เลขเรียก 395 อ-ค
มารยาท เป็นคุณลักษณะประจําตัวของบุคคลได้แก่การสัมมาคารวะความสุภาพ อ่อนน้อมความมีวินัยและพฤติกรรมต่างๆ ที่ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่นนักธุรกิจที่ดีนอกจากจะมีความสามารถในเชิงธุรกิจแล้วยังต้องรู้จักรักษากิริยามารยาท และจะต้องรู้จักการสมาคมกับผู้อื่น จึงจะเป็นบุคคลที่มีเสน่ห์เพิ่มความสนใจให้กับผู้พบเห็นจึงนับได้ว่าเขาผู้นั้นเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสําเร็จในการดําเนินธุรกิจในชีวิตประจําวัน
มารยาท หมายถึง แนวทางในการปฏิบัติหรือการแสดงวาจา ภาษา ท่าทางและพฤติกรรมต่างๆออกมาให้ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่นคนทั่วๆ ไปจะมีมารยาทดีมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับการฝึกอบรมของแต่ละครอบครัว บุคลิกภาพของแต่ละคนจะบอกให้รู้ว่าคนคนนั้นมีความสุภาพ อ่อนน้อมมีสัมมาคารวะและมีระเบียบวินัยเพียงใด
มารยาทแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือมารยาทโดยทั่วไป และมารยาทตามกาลเทศะ
1 มารยาทโดยทั่วไป
การมีมารยาทเป็นเรื่องสําคัญของมนุษย์ที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน เป็นการแสดงความเคารพให้เกียรติกัน คนไทยปัจจุบันมักเรียกตนเองว่า เป็นคนยุคใหม่และชอบทําอะไรแบบง่ายๆถือเอาความสะดวกสบายเป็นหลักพฤติกรรมที่แสดงออกมาในบางครั้งจึงกลายเป็นคนได้มารยาทไปโดยไม่ตั้งใจการให้เรียนรู้มารยาทในสังคมจึงยังเป็นสิ่งสําคัญต่อเยาวชนไทยเป็นอย่างยิ่ง
มารยาทโดยทั่วไปที่ควรทราบมีดังนี้
1. การแต่งกายให้เรียบร้อยการแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสมกับเวลาและสถานที่ถือว่าเป็นผู้มีวัฒนธรรมและจะได้รับความเกรงใจจากผู้พบเห็น
2. การสํารวมกิริยาท่าทางและคําพูดการอยู่ต่อหน้าผู้อื่นต้องสํารวมเรื่องการพูดไม่พูดคําหยาบคาย ตลกคะนอง เอะอะแสดงกิริยาท่าทางให้สบเสงี่ยมเป็นการเคารพสถานที่และรักษาบุคลิกของตนให้ดูดีในสายตาของคนอื่น
3. การรู้จักเกรงใจไม่ถือวิสาสะ
4. การให้เกียรติผู้อื่นด้วยการและวาจา
5. การกล่าวคําขอโทษ และขอบคุณ ควรใช้คําขอโทษ และขอบคุณให้ติดเป็นนิสัยแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม
6. การไม่พูดเพ้อเจ้อ หรือพูดสั่งพร่ําเพรื่อ พูดเพ้อเจ้อคือ พูดออกนอกลู่นอกทาง นอกเรื่อง ที่กําลังเป็นประเด็นสําคัญ พูดสั่งพร่ําเพรื่อคือ พูดย้ําเตือน พูดสั่งพร่ําเพ้อ หรือ พูดย้ําเตือนกําชับ เพราะกลัวคนฟังจะลืม หากพูดบ่อยๆจะถือว่าเป็นการเสียมารยาท
7. การทักทายด้วยรอยยิ้มและอัธยาศัยไมตรีการทักทายเมื่อพบคนที่รู้จักทําได้หลายวิธี เช่น การยกมือไหว้ผู้ใหญ่การทักทายด้วยความยินดีและการส่งยิ้มให้ก็เป็นการแสดงถึงความเป็นคนที่มีอัธยาศัยไมตรีอันดีใครๆก็ต้องการคบหาด้วย
8. การระมัดระวังตัวและอ่อนน้อมถ่อมตน คนที่คอยระมัดระวังตนเองจะไม่เหลียวหน้าเหลียวหลัง ทําท่าทางเลิกลัก หรือทําตัวเป็นจุดเด่น ส่งเสียงกรี๊ดกร๊าดเหมือนคนมีปัญหาส่วนคนที่นอบน้อมถ่อมตนจะไม่แสดงหรือเย่อหยิ่งจองหองซึ่งจะเป็นที่รักใคร่ของผู้อื่น
มารยาทตามกาลเทศะ
คือการรู้หลักบรรทัดฐานที่สังคมใช้ปฏิบัติในสถานการร์และสถานที่นั้นๆ
๙ คำที่พ่อสอน
1. ความเพียร การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และการใช้ความอดทนและการพยายามในการทำสิ่งต่างๆ2. ความพอดี คือ การรู้จักวางตนกับผู้ใหญ่ ให้รู้จักกาละเทศะ เช่น การแต่งกาย
3. ความรู้ตน คือ ควรรู้การปฏิบัติบัติต่อผู้อาวุโส การใช้วาจา ท้อยคำต่างๆ เช่นการคิดก่อนพูด การไม่พูดโอ้อวด
4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ คือ การมีน้ำใจซึ่งกันและกัน ไม่คิดร้ายกัน
5. อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม เช่น เป็นแบบอย่างที่ดี
6. พูดจริงทำจริง ต้องทำได้อย่างที่พูด ไม่ใช่พูดโอ้อวดเพื่อให้ตัวเองดูดี
7.หนังสือเป็นออมสิน เช่น ถ้ารู้วิธีการมีมารยาท อยากเข้าใจ ต้องอ่านหนังสือ เกี่ยวกับมารยาทและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
8.ความซื่อสัตย์ คือซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่น
9 การเอาชนะใจตน การดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่ว่าจะทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจว่าชั่วว่าเซื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิด เราต้องกล้าที่จะทำสิ่งที่เราทราบเป็นความดี เป็นความถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น