ไกลเกินฝัน



ไกลเกินฝัน
 
โดย: ประสาร มฤคพิทักษ์ 
หมวด: ชีวประวัติ  
ปกแข็ง/ 197  หน้า 
สำนักพิมพ์: -
พิมพ์ครั้งที่: -   
ปีที่พิมพ์:  2532
ขนาด:   กว้าง 21.5 ซม.  ยาว 30 ซม. 
เด็กชายทรง เอาฬารเรียนอยู่วัดนางเล่วจนจบประถม3พอจะเริ่มประถม4ก็เริ่มคิดขึ่นว่าถ้ามีโอกาสมาเรียนกรุงเทพก็คงดีไม่น้อยเลยรบเร้าเตี่ยให้สงเรียนกรุงเทพเตี่ยไม่คอ่ยเห็นด้วยเเต่ในที่สุดก็ยินยอมเด็กชายทรงศักดีอกดีใจอย่างล้นเหลือเพราะในสมัยนั้นความฝันสูงสุดของเด็กต่างจังหวัดทุกคนก็คือการได้เห็นตึกรามบ้านช่องที่ศิวิไลของกรุงเทพเตี่ยกับเเม่ไม่มีญาติสนิทอยู่ในกรุงเทพในช่วงนั้นที่อยู่ที่ดีที่สุดก็คือวัดมหาธาตุวึ่งมีญาติบวชเป็นเณรอยู่ในวัดที่เดินทางสามเณรจันทร์นิภาเกษมลูกของป้าสามเณรคณะ1วัดมหาธาตุเดินทางมารับถึงบ้าน  ทรงศักดิ์กับสามเณรจันทร์นั่งเรือเมล์แดงจากบ้านที่อ่างทองมาขึ้นท่ากรุงเทพฯที่ท่าพระจันทร์ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เมื่อตอนนั่งเรือมาก็หายใจเพราะเป็นครัั้งแรกที่จะจากบ้านไกล  ตอนเป็นเด็กวักนางเล่ว  บ้านก็อยู่ห่างจากวัดเพียงแค่เดินเท้า  10  กว่านาที  แต่นี้จะต้องนั่งเรือกันวันเต็มๆ  ยิ่งคุ้งน้ำใกล้บ้านลับตาไปไกลก็ยิ่งแป้วลง   แต่เมื่อเรือแดงเริ่มพ้นอ่างทองลงมาถึงกรุงเก่าอยุธยา  การสัญจรทางน้ำเริ่มจอแจ  มีเรือแพจอดึค้าขายอยู่เต็ม  เด็กชายทรงศักดิ์ก็เริ่มตื่นเต้นกับความแปลกใหม่ในสมัยนั้นเป็นปี  พ.ศ. 2482  การเดินทางในเมืองไทยยังต้องอาศัยทางน้ำอยู่มากพอสมควร  เพราะการเดินทางทางบกอาศัยทางรถไฟสายใหญ่คือสายเหนือ  สายตะวันออกเฉียงเหนือ  กับสายใต้  เท่านั้น   ส่วนถนนระหว่างจังหวัดเรียกได้ว่าเกือบมไม่มี  ถ้ามีก็คล้ายทางเกวียนเสียมากกว่า  การสัญจรของชาวบ้านในแถบภาคกลางมักอาศัยทางน้ำเป็นหลัก  ซึ่งในช่วงนั้นจะมีเรือเมล์แดงกับเรือเมล์เขียววิ่งแข่งกันบริการชาวบ้านอยู่  เรือเมล์เป็นเรือใช่เครื่ีองจักรไอน้ำ   มีทั้งที่เป็นแบบสองชั้นและชั้นเดียวแล่นล่องรับส่งผู้คนอยุ่ประจำ  ถ้าเป็นสายแม่น้ำเจ้าพระยาเรือเมล์แดงจะแล่นมาจากปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์  ผ่านพยุหคีรี  วัดสิงห์ จังหวัดอุทัยธานี ผ่านพรหมบุรี  ท่าช้าง  จังหวัดสิงหุ์บุรี  ผ่านอำเภอไชโย  อ่างทอง มาเข้ากรุงเก่า ล่องผ่านบางปะอิน  บางไทร มาเข้าปทุมธานี ตลากดขวัญ ปากเกร็ด นนทบุรี จนถึงกรุงเทพฯ โดยมีท่าเรือเมล์ที่ท่าเตียน เป็นท่าปลายทางที่กรุงเทพฯเหมือนหัวลำโพงของขบวนรถไฟ




1ความเพียร เด็กชายทรงศักมีความเพียรที่จะไปเรียนกรุงเทพ
2.ความพอดี เด็กชายทรงศักเป็นคนที่พอดีไม่โลภมาก
3.ความรู้ตน เขาเป็นคนรู้ตนเองดีว่าเขาอยู่ในฐานะอะไร
4.คนเราต้องรับและจะต้องให้ เขาเป็นคนที่มีนำ้ใจออบออมอารีชอบให้ขนมเด็กๆ
5.อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ เด็กชายทรงศักชอมเสี้ยหน้าที่การงานเพื่อพ่อเเม่
6.พูดจริงทำจริง เขาพูดกับเเม่ว่าอย่างไรก็ทำอย่างนั้น
7.หนังสือเป็นออมสิน เขาเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาก
8.ความซื่อสัตย์ เขาไม่เคยเอาเงินของบริษัทไปใช้โดยใช้เหตุ
9.การเอาชนะใจ เขาเป็นคนที่ทำเเต่สิ่งดีๆ















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น